"ArrtArt" ยินดีตอนรับ "เพื่อนๆคนไหนที่สนใจ เกี่ยวกับ TITANIC ก็สามารถอ่านด้านล่างได้นะครับ จะนำข้อมูลและเรื่องน่าสนใจเรื่องอื่นเข้ามาเรื่อยๆ ครับ ฝากกดติดตามหน่อยนะครับ "*_^!"

วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

TITANI "ความจริงที่ไม่มีวันจม"










หลายคนคงยังจำหนังโรแมนติกอย่าง "ไททานิค" ได้ดี หนังเรื่องนี้เป็นฝีมือกำกับฯ ของ เจมส์ คาเมอรอน ผู้เคยฝากผลงานอันลือลั่นไว้หลายเรื่อง แม้ว่าคาเมอรอนจะปิดฉากตำนานรักระหว่างแจ๊คกับโรสในไททานิกไปนานแล้ว แต่เขาก็ยังมีบางอย่างที่ค้างคาใจ เพราะสร้างหนังเรื่องนี้จนสำเร็จ หากทว่าไม่เคยได้สัมผัสหรือเห็นตัวจริงของนาวาลำนี้เลย จินตนาการของเขานั้นมันถูกต้องกับของจริงหรือเปล่า  ดังนั้น คาเมอรอน จึงจัดทีมงาน ดำลงไปสำรวจซากเรือยักษ์ใต้สมุทรลำนี้ในเวลาต่อมาไททานิกชนภูเขาน้ำแข็งและอับปางลงในวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1912 หรือกว่า 80 ปีมาแล้วซากเรือลำนี้จมอยู่ใต้ความลึกถึง 12,500 ฟุต (ราว 4 กิโลเมตร) ซึ่งความลึกขนาดนี้จะมีแรงอัดมหาศาลถึง 5,500 ปอนด์ต่อ ตารางนิ้ว ด้วยเหตุนี้การดำลงไปสำรวจจึงต้องใช้ยานพิเศษที่ชื่อว่าเมียร์ (MIR) ซึ่งสามารถดำได้ลึกถึง 20,000 ฟุต และให้แสงสว่างที่ทำให้เห็นอะไรต่ออะไรได้ เนื่องจากใต้สมุทรนั้นมืดมิดไร้แสงใดๆ นอกจากนี้ ยังมีสายเคเบิลไฟเบอร์ออพติกพ่วงโยงไปยังเรือบนผิวน้ำ เพื่อบันทึกภาพเหตุการณ์ต่างๆ ระหว่างการสำรวจด้วย ซึ่งก็เป็นที่หวั่นเกรงกันนักหนาว่า ถ้าหากสายเคเบิลอันยาวเหยียดนี้ขาดผึงลง ก็อาจม้วนพันรัดเอายานเมียร์จมดิ่งอยู่ใต้สมุทรตลอดกาล



ขอย้อนเล่าถึงความหายนะที่เกิดขึ้นนิดนึง เมื่อตอนที่เรือสำราญสุดหรู ขนาด 46,000 ตัน แล่นชนภูเขาน้ำแข็งนั้น รูทะลุที่เกิดขึ้นไม่ใช่สาเหตุสำคัญ ของการจม แต่เป็นเพราะแผ่นเหล็ก ลำเรือที่ทยอยกันฉีกขาด และทำให้น้ำทะเล ไหลบ่าเข้ามาอย่างรวดเร็ว อันที่จริงไททานิกได้ป้องกันไว้แล้ว โดยสร้างห้องเก็บน้ำเป็นช่องๆ หากน้ำทะลักเข้ามาใน 2 ห้องด้านหน้า หรือแม้แต่ใน 4 ห้องแรกก็ไม่เป็นไร แต่รอยทะลุเกิดขึ้นในห้องที่ 5 จึงต้องอับปางลง ขณะที่จมดิ่งลงมาลึกราว 300 เมตร ลำเรือก็แตกร้าวเป็นสองท่อน ด้านหัวเรือซึ่งยาวกว่าพุ่งนำลงมาก่อน ลากเอาส่วนท้ายตามลงมาในแนวดิ่ง แล้วก็หักหลุดจากกัน ท่อนหัวดำดิ่งพุ่งลิ่วยังกับตอร์ปิโด โครงสร้างและอุปกรณ์ต่างๆ กระจัดกระจายไปทั่ว แล้วหัวเรือก็ปักจมลงไปในโคลนใต้สมุทรลึกประมาณตึก 6 ชั้น และซากส่วนนี้แหละที่คาเมอรอนกับคณะสนใจสำรวจ 
เอกลักษณ์อันติดตรึงใจของไททานิกก็คือ บันไดใหญ่หรือแกรนด์สแตร์เคส (The Grand Staircase )ที่สร้างอย่างอลังการ ด้วยไม้โอ๊คแกะสลักบันไดนี้ทอดยาวจากชั้นดาดฟ้า A จนถึง E รวมหกชั้นด้วยกัน ประดับด้วยราวทองเหลืองและบรอนซ์เป็นมันแวววาว อภิมหาบันไดนี้ เป็นที่สงสัยกันมานานถึงชะตากรรมที่บังเกิดกับมันว่าเป็นฉันใด ใจกลางเรือ หากทว่าคณะสำรวจกลับไม่เห็น ร่องรอยของมัน แม้ว่าจะมีเศษไม้ และราวเหล็กเกลื่อนกลาด แต่ก็เป็นชิ้นส่วนที่ตกลงมาจากเพดานห้อง ดังนั้น จึงเป็นไปได้ว่าบันไดยักษ์นี้ หลุดออกจากฐาน และลอยขึ้นสู่เหนือน้ำทั้งแผง แต่มีข้อมูลจากผู้รอดตาย หรือไม่ว่าได้พบเห็นบันไดนี้ลอยขึ้นมา แจ๊ค ธาเยอร์ หนึ่งในผู้รอดชีวิตให้การว่า เขาเห็นส่วนหัวเรือลอยอยู่เหนือน้ำ (ซึ่งแท้จริงยังจมอยู่ใต้โคลน) ดังนั้น เป็นไปได้ไหมว่า สิ่งที่เขาเห็นนั้นคือ ซากของบันได นอกจากนี้ ยังมีรายหนึ่งซึ่งเกาะท่อนไม้ล่องลอยอยู่จนมีเรือมาช่วยไว้ แต่ก็อีกนั่นแหละ เราไม่อาจรู้แน่ชัดว่าไม้ท่อนนั้นเป็นเศษของบันไดหรือไม่ คณะสำรวจมุ่งต่อไปยังดาดฟ้าที่ไว้เรือชูชีพ ณ ที่นั้นคือ ฉากสุดยอดแห่งความโกลาหลวุ่นวายที่เกิดขึ้นในระหว่างเรือใกล้จม ที่นี่มีเสาห้อยเรือบดซึ่งสูงราว 4 เมตร ส่วนเรือบดหรือเรือชูชีพนั้นยาวลำละ 10 เมตร มีอยู่ 4 ลำ ซึ่งผู้โดยสารที่เหลือคงจะรุมล้อมแหงนมองมันอย่างมิรู้จะทำฉันใด 




Wallace Hartley

และที่ดาดฟ้านี่เอง ที่มีเหตุการณ์อันเหลือเชื่อ นั่นคือ นักดนตรีทั้งหลายแห่ง วงออร์เคสตราได้ร่วมใจ กันขึ้นมาบรรเลงเพลง เพื่อให้ผู้โดยสาร ที่ตื่นตระหนกได้สงบลง เพลงสุดท้ายเป็นเพลงช้าๆ ที่คาดกันว่าชื่อ Nearer My God To Thee ผู้กำกับวงที่มีนามว่า วอลเลซ ฮาร์ทลีย์ ได้รับความยกย่องในสมาธิ และความกล้าหาญที่คุมวงบรรเลง จนหยดสุดท้าย นักดนตรีทั้งหมดเสียชีวิต และได้พบร่างของฮาร์ทลีย์ในภายหลัง เขาได้รับพิธีฝังเยี่ยงวีรบุรุษจุดสำคัญอีกแห่งหนึ่งคือ ห้องวิทยุ นับเป็นโชคดีที่ยุคนั้นได้มีการสื่อสาร แบบไร้สายกันแล้ว โดย มาร์โคนี เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องส่งวิทยุขึ้น ซึ่งถ้าหากไททานิกไม่ได้ส่งสัญญาณวิทยุ ไปยังเรือต่างๆ ให้มาช่วย โดยเฉพาะเรือคาร์พาเธียแล้วละก้อ คงมีผู้เสียชีวิตกลาง
ทะเล มากกว่านี้อย่างแน่นอน



จากซ้าย Jack Pillipis (ตายในคืนนั้น) Harold Birde 
(ตายในปี 1956)ในห้องส่งวิทยุนี้ คณะสำรวจพบอุปกรณ์ ต่างๆ ยังอยู่เกือบครบครัน นับตั้งแต่ไดนาโม ที่มีมอเตอร์ต้นกำเนิดพลังงานที่ใช้ส่งวิทยุ แผงสวิตช์ต่างๆ ซึ่งตำนานไททานิกในเรื่องนี้มีระบุว่าคืนก่อนหน้าความหายนะ อุปกรณ์ส่งสัญญาณวิทยุเกิดขัดข้อง แต่เนื่องจากผู้โดยสารส่วนใหญ่ล้วนเป็นเศรษฐี และต้องการที่จะสื่อสารไปยังครอบครัวเพื่อเล่าถึงการเดินทางอันสุดแสนประทับใจนี้ ดังนั้น จึงมีหนุ่มน้อยสองคนขันอาสาเข้าแก้ไขอุปกรณ์ และหลังจากปลุกปล้ำอยู่นานถึง 6 ชั่วโมง แจ๊ค ฟิลลิปส์ กับ ฮาโรลด์ ไบรด์ ก็พบสายไฟลัดวงจรต้นเหตุ แล้ว

จึงจัดการซ่อมแซมจนสำเร็จใช้งานได้ 
 

ซ้าย : ภาพจำลองเครื่องยนต์ของเรือไททานิก             
ขวา : ภาพถ่ายจริงของเครื่องยนต์ ต่อข้อสงสัยว่าพนักงานวิทยุ ได้อยู่ปฏิบัติการจนวาระสุดท้าย ของเรือหรือไม่ ข้อนี้ไบรด์กล่าวว่าพนักงานยังคงอยู่อย่างกล้าหาญ ไม่ได้ละทิ้งหน้าที่ ผู้ที่รอดชีวิต 703 คนนั้น ล้วนเป็นหนี้บุญคุณ เครื่องส่งวิทยุชิ้นนี้



มีความลับหนึ่งซึ่งผู้โดยสารไม่เคยล่วงรู้ นั่นคือได้เกิดเพลิงไหม้ขึ้น ในห้องเครื่องของ ไททานิก เพลิงได้ลุกไหม้ ในกองเก็บถ่านหิน ซึ่งอยู่ระหว่างหม้อไอน้ำสองหม้อ เหตุนี้อาจเกิดขึ้นก่อนออกเดินทาง แต่ลูกเรือไม่สามารถดับไฟได้ จึงต้องใช้วิธีโกยถ่านที่ลุกแดงโยนเข้าเตาไฟ และสุดท้ายก็ควบคุมเพลิงไว้ได้ในคืนก่อนหน้าการอับปาง พวกเขาเอาน้ำมันดำทาบริเวณที่ถูกไฟไหม้เพื่อปิดบังร่องรอย แต่ลูกเรือสองคนให้การในภายหลังว่า ผนังห้องเครื่องระหว่างห้องหม้อไอน้ำ 5 กับ 6 โก่งบิดอย่างเห็นได้ชัด เหตุการณ์นี้ทำให้บางคนเชื่อว่าส่งผลให้ลำเรือชำรุด และมีส่วนในการที่จมลงอย่างรวดเร็ว


ท้ายที่สุด คาเมอรอนกับคณะก็ได้สำรวจถึงส่วนนันทนาการของผู้โดยสารไททานิก มีบริการให้ครบถ้วนเหมือนสปอร์ตคลับ ไม่ว่าจะเป็นเตอร์กิชบาธ หรือสปาในปัจจุบันนั่นเอง เมื่อ 80 ปีก่อนโน้นสปาเป็นที่นิยมกันมาก ค่าเตอร์กิชบาธ บนไททานิกก็เพียงแค่ 1 เหรียญ แต่ถ้าคุณสมัครใจจะว่ายน้ำในสวิมมิงพูลก็ 24 เซนต์ ค่าเล่นสควอช 50 เซนต์ ต่อชั่วโมง (ในขณะที่ค่าโดยสารห้องสวีต พิเศษสุด 3,300 เหรียญ หรือราว 130,000 บาท และชั้นต่ำสุดแค่ 33 เหรียญ) คณะสำรวจต้องตื่นตะลึง เมื่อเห็นภายในห้อง เตอร์กิชบาธอยู่ในสภาพสมบูรณ์มาก ทั้งนี้เพราะวัสดุที่ใช้ล้วนเป็น ประเภทที่ไม่ถูกน้ำทะเลกัดกร่อน (ดังเหล็ก) อาทิ ไม้สัก เครื่องเซรามิก พรมน้ำมัน โคมไฟ บรอนซ์ ฯลฯสิ่งที่น่าแปลกใจอีกอย่างหนึ่งคือ เฟอร์นิเจอร์หรือเครื่องประดับใหญ่ๆ จะพินาศมากกว่าชิ้นเล็กๆ เช่นว่า แกรนด์เปียโน จะคว่ำเค้เก้อยู่อีกฟากหนึ่งของห้อง ในขณะที่แก้วน้ำแบบบาง บนหิ้งกลับไม่กระทบกระเทือน ไม่มีแม้แต่รอยร้าว!


นี่เป็นอีกเรื่องที่เป็นที่สนใจของคนทั่วไป รวมทั้งผมด้วยล่ะครับ






 คำเล่าลือถึงสาเหตุของความหายนะของเรือไททานิค ซึ่งเชื่อกันว่าเป็น "เรือที่ไม่มีวันจม" กลับล่มเสียตั้งแต่ในเที่ยวแรกอย่างไม่น่าเป็นไปได้ น่าจะมาจากอาถรรพ์  ที่เรือไททานิคได้ลักลอบบรรทุก สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งมาด้วย สิ่งนั้นคือ...มัมมี่ ...มัมมี่ของเจ้าหญิงไอยคุปต์โบราณ "อาเมน-รา" ที่เต็มไปด้วยอาถรรพณ์

           เป็นเรื่องลึกลับที่ไม่น่าเชื่อ .... เรื่องนี้เกิดขึ้นในปี ค.ศ.1920  เมื่อ นักโบราณคดีชาวอเมริกันเดินทางไปพบกับนักอียิปต์วิทยาชาวอังกฤษชื่อ เมอร์เรย์ ที่บ้านพักในกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ จุดประสงค์ของเขามีเพียง ต้องการติดต่อขายสินค้าชิ้นหนึ่งให้กับ เมอร์เรย์ และสินค้าที่ว่านี้คือหีบพระศพของเจ้าหญิงไอยคุปต์โบราณ องค์หนึ่งซึ่งก็คือ เจ้าหญิง "อาเมน-รา"

          
 นักโบราณคดีชาวอเมริกันคนนี้ ดูซูบซีดเหมือนขี้ยา แต่งเนื้อแต่งตัวสกปรก เมอร์เรย์ ก็เลยไม่ค่อยศรัทธาใน "สินค้า" ที่ได้รับการ เสนอขาย แต่ก็เอ่ยปากขอดู "สินค้า" ก่อนจะตัดสินใจ ทันทีที่เมอร์เรย์เห็นหีบพระศพเคลือบด้วยทองคำเหลืองอร่ามตระการตาเข้าเท่านั้น เขาก็ถึงกับอ้าปากค้าง ไม่คาดคิดว่าจะพบสิ่งมีค่ามหาศาลเช่นนี้ ต่อหน้าต่อตา นักโบราณคดีอเมริกันเล่าว่าหีบพระศพใบนี้ ค้นพบที่วิหารอะมอนรา ในธีบีส ซึ่งเป็นบริเวณที่เก็บพระศพของบรรดาเจ้าหญิงอียิปต์โบราณมากมาย สำหรับโลงพระศพที่อยู่ต่อหน้า เมอร์เรย์ คาดว่าน่าจะมีอายุประมาณ 1,600 ปีก่อนคริสตศักราช  "ตกลง ผมรับซื้อ" เมอร์เรย์กล่าว "แต่มันมีอาถรรพณ์หน่อยนะ เพราะมีคำสาปแช่งจารึกไว้ด้วย" นักโบราณคดีอเมริกันบอกกับเมอร์เรย์"ไม่เป็นไร ผมไม่เชื่อเรื่องพรรค์นี้หรอก" เมอร์เรย์กล่าว เมอร์เรย์ไม่เสียดายเงินก้อนใหญ่ที่เขาจ่ายให้นักโบราณคดีผู้นั้นแม้แต่น้อยเลย ด้วยว่ามูลค่าของหีบพระศพที่เขาได้มามีค่ามากกว่ามากนัก แม้คำสาปแช่งที่นักโบราณคดีอเมริกาบันทึกไว้ให้ก็ ไม่ทำให้เขาสะดุ้งสะเทือน คำสาปแช่งนั้นมีความว่า "มันผู้ใดบังอาจรบกวนสถานที่ซึ่งเป็นที่ร่างของข้าได้สถาปนาไว้ในอาณาจักรแห่งลุ่มน้ำไนล์ มันผู้นั้นจะต้องพบกับภัยพิบัติอันน่าสยดสยองทุกวัน มันต้องตายทุกคน"

          
 เมอร์เรย์ไม่เชื่อเรื่องคำสาป เขานำหีบพระศพของเจ้าหญิงโบราณไปให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโบราณคดีในกรุงไคโรอีกหลายท่านพิสูจน์ว่า เป็นหีบพระศพสมัยไหน? ของเจ้าหญิงองค์ใด? แม้ว่าคำตอบที่เขาได้รับจะไม่สามารถสรุปได้แน่ชัด แต่กลับมีคำชมว่าเขามีสายตาเฉียบคม สามารถซื้อหีบพระศพโบราณได้ในราคาที่นับว่าถูกมากเมื่อเทียบกับมูลค่าที่แท้จริง หลังจากนั้นได้มีข่าวๆ หนึ่งแทรกเข้ามารบกวนความรู้สึกของเขาไม่น้อย นั่นคือ นักโบราณคดีอเมริกันที่เพิ่งขายหีบพระศพใบนี้ให้ ได้เสียชีวิตอย่างลึกลับ...! หลังจากที่รับเช็คเงินสดจากเขาไปได้ไม่กี่ชั่วโมง หรือว่าคำสาปจะเป็นจริง?

            
เมอร์เรย์ ไม่เชื่อว่าจะมีความเร้นลับอะไรในศตวรรษที่ 20 ได้อีก สิ่งที่เขาต้องรีบกระทำขณะนี้ คือ การส่งหีบพระศพไปเก็บไว้ที่บ้านในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ สมัยนั้นไม่มีการขนส่งใดดีกว่าทางเรือ เมอร์เรย์ จึงติดต่อว่าจ้างให้บริษัทเดินเรือมาจัดการขนหีบห่อที่เขาจัดการบรรจุไว้เรียบร้อยไปขึ้นเรือก่อนการเดินทาง แต่ว่าสามวันหลังจากนั้น ก็มีเหตุเกิดขึ้นเมื่อเขาออกไปซ้อมยิงปืนทางตอนเหนือของแม่น้ำไนล์ จู่ๆ ปืนเกิดระเบิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ ถูกเข้าที่แขนของเมอร์เรย์เป็นแผลเหวอะหวะ แพทย์ต้องตัดแขนเขาทิ้งตั้งแต่ข้อศอกลงไป เมอร์เรย์ กลายเป็นคนพิการอย่างที่ไม่น่าจะเป็น ด้วยสาเหตุบังเอิญที่น่าพิศวงยิ่ง อุบัติเหตุคราวนี้ทำให้ต้องปล่อยหีบพระศพเดินทางไปล่วงหน้า ส่วนตัวเขาจำเป็นต้องอยู่พักฟื้นในอียิปต์สักพักจนแน่ใจว่าอาการไม่กำเริบแน่ จึงค่อยตามไปภายหลัง

          
 หลังจากนั้น เมื่อบาดแผลค่อยยังชั่ว เมอร์เรย์ ก็รีบเดินทางไปอังกฤษทันที แต่ระหว่างการเดินทางอยู่ในเรือ ปรากฏว่าเพื่อนของเขาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขนส่งหีบพระศพ 2 คน และหญิงรับใช้ชาวอียิปต์ของเขาอีก 1 คน จู่ๆ ก็พร้อมใจกันตายโดยไม่ทราบสาเหตุ  พอไปถึงอังกฤษ เมอร์เรย์ ก็รีบจัดการนำหีบพระศพออกจากโกดังท่าเรือกลับบ้าน เมื่อถึงที่บ้านเมอร์เรย์ ตัดสินใจเปิดหีบออกดูพระศพ ทันทีที่ฝาโลงเปิดออกเผยให้เห็นมัมมี่ของเจ้าหญิงเท่านั้น

            
เมอร์เรย์ ถึงกับผงะก็มัมมี่ของเจ้าหญิงที่เขาเห็นเวลานี้ แตกต่างไปจากที่เคยเห็นซะแล้ว มันดูเหมือน ใบหน้าของคนยังมีชีวิตอยู่จริง กำลังจ้องมองเขาเขม็งด้วยแววตาอาฆาตแค้น  คราวนี้ เมอร์เรย์ ปักใจเชื่อว่าคำสาปมีจริงเต็มร้อย เขาคิดว่าสิ่งที่นักโบราณคดีอเมริกันเตือน เริ่มสำแดงเดชให้ประจักษ์ ความหวาดกลัวพุ่งเข้าจับขั้วหัวใจ เขาต้องคิดหาวิธีใดวิธีหนึ่งที่จะนำหีบพระศพไปให้พ้นตัว แต่ใครล่ะจะมาเป็นผู้รับเคราะห์แทน ในที่สุด ก็มีเพื่อนหญิงที่เคยร่วมชั้นเรียน สนิทสนมกับเขามาตั้งแต่เด็ก ยินยอมรับเอาหีบพระศพไปเก็บไว้

            
เพื่อนหญิง ของ เมอร์เรย์ ไม่ต้องรอนานเลย บรรดาคำสาปที่ติดอยู่กับมัมมี่โบราณก็เริ่มแผลงฤทธิ์ เริ่มด้วยแม่ของเธอเสียชีวิตกระทันหัน แล้วเธอเอง ก็ถูกสามีทอดทิ้ง แล้วต่อมาก็ล้มป่วยด้วยโรคประหลาด เรื่องร้ายๆ ที่เกิดขึ้นซ้อนๆ กันทำให้เธอรีบนำหีบพระศพมาคืนให้ เมอร์เรย์

            
เมอร์เรย์ กลัวคำสาปมาก ไม่ต้องการเก็บหีบพระศพไว้เช่นกัน จึงมอบต่อให้พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอังกฤษ ทางพิพิธภัณฑ์รีบนำมาจัดแสดงทันทีโดยจัดสถานที่วางหีบพระศพให้เหมือนบรรยากาศอียิปต์โบราณ แล้วเปิดให้นักท่องเที่ยวซื้อบัตรเข้าชม ไม่มีใครคาดว่าเหตุการณ์สยองขวัญจะเกิดขึ้นจนได้ ขณะที่นักท่องเที่ยวคนหนึ่งกำลังถ่ายภาพหีบพระศพอยู่นั้น เขาได้ล้มตึงชักดิ้นชักงอขาดใจตายคาที่โดยไม่มีท่าทีมาก่อน นอกจากนี้นักอียิปต์วิทยาผู้แตะต้องหีบพระศพเพื่อการจัดแสดง ก็นอนตายตาเหลือกอยู่บนเตียงในห้องนอน คล้ายกับตกใจกลัวอะไรบางอย่างสุดขีดจนหัวใจวายกระทันหัน

            
หนังสือพิมพ์อังกฤษเอาข่าวนี้ไปตีพิมพ์ กลายเป็นข่าวดังทำให้ประชาชนหวาดกลัว ไม่มีใครอยากเฉียดเข้าไปใกล้หีบพระศพเลย  ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอังกฤษ จึงตัดสินใจมอบหีบพระศพใบนี้ให้พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติกรุงนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา ซึ่งทางนิวยอร์คก็ยอมรับอย่างยินดี โดยให้ทางอังกฤษจัดส่งโดยเรือที่ดีที่สุด ทันสมัยที่สุด และใหญ่ที่สุดในสมัยนั้นคือ เรือไททานิค
  



เรือไททานิค เป็นเรือที่ถือกันว่า "ไม่มีวันจม" และถือว่าเป็นเรือที่หรูหราที่สุด หากจะขนย้ายหีบพระศพไปกับเรืออย่างเปิดเผย ก็กลัวผู้คนจะแตกตื่น เลยจำเป็นต้องกระทำอย่างเป็นความลับ ทางฝ่ายขนส่งจัดการบรรจุหีบพระศพใส่ลังอย่างดี แล้วนำไปซ่อนไว้ใต้ท้องเรือ ไม่มีผู้โดยสารทราบเลยแม้แต่คนเดียวว่า มีหีบพระศพอียิปต์โบราณที่มีอาถรรพณ์ บรรทุกมากับเรือด้วย ผู้รู้เรื่องนี้ดีก็คือ บริษัทผู้จัดส่งเท่านั้น เรือไททานิคเที่ยวแรกออกเดินทางจาก South Hamton มู่งสู่New Yorkกระทั่งถึงวันที่ 15 เมษายน ค.ศ.1912 ทั่วโลกก็ตะลึงงันกับข่าว "เรือไททานิคชนภูเขาน้ำแข็งอับปางลงกลางมหาสมุทรแอตแลนติค มีผู้โดยสารเสียชีวิตถึง 1,498คน"  ไม่มีผู้ใดทราบแน่ชัดว่าเรือไททานิคที่มีอุปกรณ์เดินเรือทันสมัย ทำไมถึงอับปางเร็วนัก หรือทำไมถึงต้องพุ่งเข้าชนภูเขาน้ำแข็งเข้าอย่างจัง แต่บริษัทผู้รับจ้างขนหีบพระศพและบริษัทประกันภัยเท่านั้นที่ทราบอยู่เต็มอกว่า เหตุที่เรือไททานิคชนภูเขาน้ำแข็งจนมีผู้เสียชีวิตมากมาย เพราะคำสาปของเจ้าหญิงอียิปต์โบราณ "อาเมน-รา" นั่นเอง เรือไททานิคต้องคำสาป และถูกทำลายด้วยมนต์ตราโบราณอายุนับพันปี           เจ้าหญิงองค์นี้คงต้องการที่อยู่ที่สงบ ปราศจากการรบกวนของผู้คน เธอจึงเลือกท้องน้ำที่ลึกที่สุดซึ่งจนกระทั่งบัดนี้ ยังไม่มีการกู้เรือมาได้เพราะความลึกของท้องน้ำทะเล



ไททานิคกับความจริงที่ไม่มีวันจม



เรือลำใหม่ของไวท์สตาร์ไลน์มีชื่อว่า โอลิมปิก , ไททานิค , ไจแจนติค และเรือลำล่าสุดคือ บริธเทนนิค แต่ว่าเรือลำล่าสุดไม่เคยได้ให้บริการในฐานะเรือของไวท์สตาร์ไลน์ และถูกสั่งให้เข้าร่วมสงครามโลก ในฐานะเรือพยาบาล และได้จมลงที่ทะเล เมดิเตอร์เรเนี่ยน ด้วยทุ่นระเบิด และตอปิโด

เรือโอลิมปิก พร้อมให้บริการในปี 1911 แต่ทว่า ได้ชนกับเรือลาดตระเวนฮอว์ค ในต้นปี 1912 และถูกปลดระวางหลังจากนั้น 6 สัปดาห์ ประวัติก่อนหน้านี้เป็นบทเรียนให้กับเรือไททานิค

ผู้บังคับเรือ , กัปตันเอ็ดวอร์ด จอห์น สมิธ ได้มายังเรือไททานิคก่อนที่เรือจะแล่นออกไป พร้อมด้วยกับหัวหน้าเจ้าหน้าที่ และรองกัปตันเมอร์ด็อก


ไททานิคออกจากเบลฟาส์ต เพื่อทดสอบในวันที่ 2 เมษายน 1912 เวลา 06.00 น. และ ได้กลับมาในตอนบ่ายวันเดียวกัน ก่อนที่จะทำการเดินทางไปยังเซาท์แธมตั้น เพื่อที่จะเตรียมพร้อมสำหรับการเดินทางครั้งแรก อย่างไรก็ตาม ผู้จัดการของพวกเขา โธมัส แอนดรูว ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายออกแบบของเรือ ยังคง เดินทางไปนิวยอร์ค เหมือนกับเจ้าหน้าที่คนอื่น และทั้งหมดก็ได้ตายลงในเหตุการณ์ที่เรือจม

วันพุธที่ 10 เมษายน 1912 เรือได้แล่นออกตามกำหนดการ ในเช้าวันที่อากาศแจ่มใส ผู้โดยสารทั้งหมดได่ลงเรือเสร็จในตอนบ่าย จำนวนคนที่ลงเรือมีทั้งหมด 2,235 แบ่งเป็น 337 คนในชั้น 1, 271 คนในชั้น 2, 712 คนในชั้น 3 และเจ้าหน้าที่กับลูกเรืออีก 915 คน ผู้โดยสารทุกคนได้รับความสะดวกสบายบนเรือ อย่างน้อยที่สุดก็ชั้น 1 กับชั้น 2


ในเรือมีสิ่งอำนวยความสะดวกสบาย เช่น โรงยิม สระว่ายน้ำ ห้องอาบน้ำแบบตรุกี มีคนกล่าวกันว่า บนเรือลำนี้มีมหาเศรษฐีอย่างน้อยที่สุดก็ 10 คน ท่ามกลางคนเหล่านั้นก็มี บรูซ อิสเมย์ ผู้จัดการของบริษัทไวท์สตาร์ไลน์(เจ้าของเรือ) และผู้การแอสเตอร์ ผู้ซึ่งเป็นบุคคลที่ร่ำรวยมากคนนึงในโลก

นอกจากผู้โดยสารแล้ว ไททานิคยังบรรทุกจดหมายหนัก 3,245 ตัน , ถ่านหิน 6,000 ตัน และสัมภาระอีก 900 ตัน ในสัมภาระเหล่านั้นมี ชุดสวยหรูสำหรับแฟชั่นฤดูร้อนมากมายที่กำลังจะส่งไปยังนิวยอร์ค , อัญมณีล้ำค่ามากมาย และไวน์ชั้นดีที่ส่งไปอเมริกา



ไททานิคได้แวะไปที่ เชอร์เบอร์ก และไปจอดรับผู้โดยสารที่ควีนส์ทาวน์ ในไอร์แลนด์ ที่ซึ่งผู้โดยสารส่วนใหญ่เป็นชาวไอริช ที่ต้องการที่จะอพยพไปยังอเมริกา

ไททานิคได้เดินทางออกจากควีนส์ทาวน์ในวันพฤหัสบดี ที่ 11 เมษายน 1912 เวลา 14.00 น. และได้มุ่งหน้าตรงไปยังนิวยอร์ค โดยใช้เส้นทางที่ 42 องศาเหนือ และ 47 องศาตะวันตก ซึ่งเส้นทางนี้บริเวณรอบนอกจะมีภูเขาน้ำแข็งน้อย แต่เส้นทางเดินภายในได้มีการทำเครื่องหมายพิกัด ที่ตั้งของภูเขาน้ำแข็งไว้แล้ว"ภูเขาน้ำแข็งจะพบได้มากในช่วงเดือน เมษายน พฤษภาคม มิถุนายน"



ในเย็นวันที่ 2 ของการเดินทาง ผู้โดยสารชั้น 1 ได้แต่งตัวโอ่โถง หรูหรา เพื่อที่จะมาทานอาหารเย็น ซึ่งมีอาหารรสเลิศ และวงออเคสตร้ามาเล่นเพลงที่แสนไพเราะให้ฟัง เจ้าหน้าที่ของเรือ และผู้โดยสารต่างมีความสุข และร่วมกันพูดคุย เรื่องของเรือไททานิคว่า " เป็นเรือที่ปลอดภัยที่สุดในโลก และเรือลำนี้จะไม่มีวันจม"


กัปตันสมิธได้เดินออกจากห้องรับประทานอาหารเย็นเป็นคนแรก และ ตรงไปยังห้องควบคุม และตรวจดูทุกสิ่งทุกอย่าง รวมไปถึงลูกเรือของเขา ด้วยความสามารถของนักเดินเรือผู้มากประสบการณ์ เขาได้ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกมาหลายครั้ง ไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้านี้ เขาได้เป็นกัปตันเรือ โอลิมปิก แต่เมื่อเรือได้ชนกับเรือลาดตระเวนฮอว์ค เขาก็ยังไม่มีใครที่จะตำหนิเขาได้ และผู้โดยสารไททานิคหลายคนไม่รุ้ความเกี่ยวข้องกับหลายๆเหตุการณ์ที่เกิด ขึ้น

ทั้งที่ในคืนวันเสาร์ ยังคงเป็นคืนที่มีการจัดงานเลี้ยงของผู้โดยสาร ซึ่งจัดกันอย่างสนุกสนาน

ในตอนเช้าของวันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน 1912 ทะเลได้สงบเกินไปจนผิดปกติ พอตกเย็นอากาศโดยรอบเริ่มหนาวลงกว่าเดิม มันเป็นที่รู้กันดีในหมู่นักเดินเรือว่าจะต้องมีภูเขาน้ำแข็ง เป็นเหตุให้อากาศโดยรอบเย็นลง แต่ความรู้เหล่านี้มีผู้โดยสารน้อยมากที่จะรู้ และยังคงทำให้ผู้โดยสารดื่มและทานอาหารเย็นกันตามปกติ

สิ่งที่สำคัญก็คือความเย็นของอากาศ อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ทำให้กัปตันสมิธชะล่าใจเรื่องภูเขาน้ำแข็ง ในเวลา 20.55 น. กัปตันสมิธได้มายังสะพานเรือ เพราะว่ามีรายงานจากวิทยุว่า "ไททานิคได้กำลังเดินทางเข้าสู่เขตที่ตั้งของภูเขาน้ำแข็ง" 2 เจ้าหน้าที่ได้มองไปข้างหน้า เขาและกัปตันได้สนทนากันเป็นเวลาหลายนาที พวกเขาได้พูดเกี่ยวกับ"ความสงบของทะเลในเวลานี้ ทำให้ความชัดเจนในการมองเห็นในเวลากลางคืน เป็นไปได้ยากขึ้น"

ในเวลา 21.30 น. กัปตันสมิธได้ออกจากสะพานเรือ และกล่าวว่า" หากคุณสงสัยว่าจะออกนอกเส้นทาง , บอกให้ผมรู้ทันที"

รองกัปตันไลท์โทรเลอร์ได้กล่าวกับลูกเรือและเจ้าหน้าที่ให้ช่วยกันมองหากพบ ภูเขาน้ำแข็ง และยังคงให้รักษาความเร็วของเรือไททานิคที่ 22 น๊อต(ประมาณ 40 กิโลเมตร/ชม.) กัปตันสมิธกระตือรือร้นที่จะให้ไททานิคไปถึงนิวยอร์คก่อนเวลาที่กำหนด (เป็นเหตุให้กัปตันยังคงรักษาความเร็วของเรือ)



ในเวลา 22.00 น. รองกัปตันเมอร์ด๊อกมารับหน้าที่ผู้ควบคุมเรือ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ผู้ช่วยอีก 2 คน และ เจ้าหน้าที่อื่นๆอีก 10 คน ซึ่งต่างก็หมดอารมณ์ แต่ละคนได้สวมเสื้อหนาวกันเพื่อต้านทานความหนาวเย็น

ผ่านไป 1 ชั่วโมง ทุกอย่างโดยรอบยังคงสงบ แต่แล้วความสงบนั้นก็หมดไปด้วยเสียงระฆัง นี่เป็นสัญญาณอันตรายที่ส่งจากเจ้าหน้าที่บนเสากระโดงเรือว่า"มีวัตถุ อันตรายข้างหน้า" และก็มีโทรศัพท์ถึงสะพานเรือพร้อมกับได้รับแจ้งว่าพบภูเขาน้ำแข็งตรงหน้าของ ไททานิค เมอร์ด๊อคได้สั่งให้หันหัวเรือในทันที และเขายังได้สั่งให้ถอยหลังเต็มตัว ในตอนนี้เมอร์ด๊อคได้เห็นภูเขาน้ำแข็งด้านหน้าด้วยตาเปล่า แต่ทว่าเรือไททานิคยังคงเดินหน้าต่อไป

น่าเสียดายที่ มันสายเกินกว่าที่เรือจะเลี้ยวหลบได้ เพราะว่า ตอนนี้เรือได้ถอยหลังเต็มตัวแล้ว แต่ในความเป็นจริงแล้ว เรือไม่สามารถหักเลี้ยวได้ในทันที เรือจึงเฉียดผ่านไป(ซึ่งจริงๆแล้วเรือได้ชนกับภูเขาน้ำแข็ง และทำให้เรือเลยผ่านภูเขาน้ำแข็งไป)


แต่ผลกระทบที่เกิดร้ายแรงกว่าที่ตาเห็น มันดูเหมือนว่าไททานิคสามารถเฉียดผ่านภูเขาน้ำแข็งไปได้ แต่โชคไม่ดีที่ความเสียหายจากการชนทำให้น้ำเข้าเรือเกือบจะเต็มด้านล่างของ เรือ แรงสั่นสะเทือนมากเพียงพอที่จะปลุกกัปตันสมิธ ซึ่งแต่งตัวพร้อมไว้เสมอในเวลานอน เขารีบไปที่สะพานเรือแล้วสั่งให้ปิดประตูกั้นน้ำทั้งหมด เมอร์ด๊อกบอกเขาว่า เขาได้ปิดมันเรียบร้อยแล้ว กัปตันสมิธถามว่าเกิดอะไรขึ้น เขาบอกว่าเรือได้เฉียดไปชนภูเขาน้ำแข็งไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง แต่หลังจากที่รายงานความเสียหาย น้ำก็ได้ทะลักเข้ามาในเรืออย่างรวดเร็ว

สมิธได้ส่งแอนดรูว(ผู้ออกแบบเรือ)และพวกของเขา ลงไปตรวจสอบความเสียหายของเรือ ห้องเครื่องโดนน้ำท่วม และไม่สามารถหยุดน้ำจำนวนมากได้ คลังสินค้า 1 โดนน้ำท่วม คลังสินค้า 2 โดนน้ำท่วม แอนดรูวบอกกัปตันว่า"เรือลำนี้ถูกออกแบบมาให้ลอยตัวอยู่ได้ถ้าน้ำท่วม 4 ห้อง แต่จะไม่สามารถลอยอยู่ได้หากเกิน 4 ห้อง"


พวกที่ลงไปสำรวจที่คลังสินค้า 3 ก็ได้พบว่าน้ำกำลังไกลบ่าอย่างมาก ทั้ง 2 คนได้ประกาศเตือน และได้ให้คนไปสำรวจตามจุดต่างๆทั่วเรือ และ พยายามที่จะปิดประตูกั้นน้ำของห้องหม้อน้ำหมายเลข 5 และหมายเลข 6

แอนดรูวได้บอกความคิดของเขาแก่กัปตันว่า"ส่วนหัวของเรือจะจมลงหากน้ำได้ท่วม ถึงห้องหม้อน้ำหมายเลข 6 และจะท่วมต่อไปเรื่อยๆ จนในที่สุดเรือก็จะจมลง"

มีการคาดการณ์ว่า มีเวลา 1ชั่วโมง ถึง 1ชั่วโมงครึ่ง ที่เรือจะสามารถลอยอยู่ได้

กลับมาที่สะพานเรือ กัปตันสั่งให้เรือช่วยชีวิตทุกลำเตรียมพร้อมไว้ เขาได้ไปห้องสื่อสารเพื่อที่จะส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ โดยแสดงพิกัดที่ไททานิคอยุ่ ไททานิคเป็นเรือที่มีความสามารถด้านการสื่อสารมาก และมีเรือหลายลำที่ได้รับข้อความ 1 ในจำนวนก็คือ เรือ บอลติก และเรือโอลิมปิก ของไวท์สตาร์ไลน์, เรือแฟรงค์เฟิร์ท เรือโคโรเนีย สัญญาณของเรือไททานิคได้ส่งไปถึงประภาคาร ที่ชายฝั่งของนิวฟาวน์แลนด์

เรือขนส่งคาพาเธีย เป็นเรือที่อยู่ใกล้และได้รับสัญญาณขอความช่วยเหลือจากไททานิค ซึ่งจุดที่เรือคาพาเธียอยู่ ห่างจากจุดที่ไททานิคอยู่ถึง 58 ไมล์ทะเล ผู้บังคับเรือ กัปตัน โรสตรอน ถึงแม้ว่า มันจะยากที่จะเชื่อว่า เรืออย่างไททานิคกำลังจม ทันใดนั้น เขาก็สั่งให้ลุกเรือกำหนดพิกัดที่ไททานิคอยู่แล้วเดินทางไปช่วยเหลือไททานิค

ในตอนแรกผู้โดยสารยังไม่มีคนรู้ถึงสถานการณ์อันแสนเลวร้ายของไททานิค ถึงแม้ว่าผู้โดยสารจะรำคาญเสียงด้านนอกที่มีคนตะโกนว่า ผู้โดยสารทุกท่านโปรดสวมเสื้อชูชีพไว้ การเตรียมเรือช่วยชีวิตก็ยังคงดำเนินต่อไปอย่างช้าๆ ลูกเรือขึ้นมาถึงด้านบนช้าเพราะว่าบางคนยังคงสับสันกับหน้าที่ของตนที่จะ ต้องกระทำในเวลานี้

ในเวลา 00.20น.ของวันจันทร์ที่15 เมษายน 1912 ได้มีคำสั่งให้ผู้โดยสารเริ่มลงเรือช่วยชีวิต แต่ว่าสถานการณ์ในตอนนั้นวุ่นวายมาก เสียงของฝูงชนมากมายที่ต้องการจะลงเรือช่วยชีวิต

รองกัปตันเมอร์ด๊อกซึ่งอยู่บนดาดฟ้าของเรือได้กำลังสั่งให้เรือช่วยชีวิตลำ ที่ 7 ค่อยๆหย่อนเรือลงไปด้านล่าง แต่มีปัญหาที่ใหญ่ที่สุดคือไม่สามารถขนย้ายผู้โดยสารให้เต็มเรือช่วยชีวิต ได้ เรือช่วยชีวิตลำแรกมี ผู้โดยสาร26คน เป็นผู้หญิง24 เด็ก2 แต่ในความเป็นจริงแล้วสามารถรองรับได้ถึง65คน

ในเวลาเดียวกันพลุก็ถูกจุดขึ้นจากตัวเรือไททานิค ความสว่างจากพลุที่จุดสามารถมองเห็นได้ไกลสุดในระยะ 4ไมล์ เรือช่วยชีวิตที่จุคนได้ไม่เต็มก็ค่อยๆแล่นออกไปช้าๆทีละลำ เจ้าหน้าที่ได้เห็นดังนั้นจึงได้พยายามให้คนขึ้นเรือช่วยชีวิตมากขึ้น จากเดิมที่ขึ้นได้25-26คน แต่ตอนนี้สามารถทำให้บรรทุกผู้โดยสารได้ถึง50คน

บรูซ อิสเมย์ ผู้จัดการของบริษัทไวท์สตาร์ไลน์ ได้กำลังช่วยขนย้ายผู้โดยสารลงเรือช่วยชีวิต เมื่อเขาคนไปจนเขาเห็นว่ามีที่ว่าง เค้าก็กระโดดลงเรือช่วยชีวิต อิสเมย์ถูกวิจารณ์อย่างมากในการกระทำนี้ของเขา แอนดรูว ได้ลงไปในเรือ ซึ่งเขาเป็นคนออกแบบมากับมือ มีคนเห็นเขาอยู่ในห้องโถง และยืนอยู่นิ่งๆตามลำพัง บางทีเขาอาจคิดว่าจะใช้เวลาที่เหลืออยู่ อยู่กับเรือที่เค้าออกแบบเองกับมือ

กัปตันสมิธสั่งกับเจ้าหน้าที่ว่า ผู้หญิงกับเด็กให้ลงเรือก่อน และต้องทำตามอย่างเคร่งครัด ในขณะนี้มีเจ้าหน้าที่กระจายกันไปทั่วเรือเพื่อที่จะดูแลความสงบ และป้องกันการก่อจลาจลของผู้โดยสาร

ในทางเมอร์ด๊อก ได้เกิดจลาจลขึ้นอย่างหนัก โดยผู้อพยพชาวอิตตาลี่ ได้พยายามที่จะแย่งกันขึ้นเรือ เป็นเหตุให้เมอร์ด๊อคจำต้องยิงปืนขึ้นฟ้าเพื่อที่จะหยุดผู้ที่ก่อจลาจล และสามารถทำได้สำเร็จ

จำนวนเรือช่วยชีวิตทั้งหมดสามารถช่วยได้ 1,178 คน ในเรือจำนวน16ลำ มีเรือ4ลำที่พังระหว่างการย้ายคนลงเรือ และมีเสื้อชูชีพจำนวน 3,560 ตัว เรือไททานิคมีผู้โดยสารจำนวน 2,235 คน ซึ่งเสื้อชูชีพเพียงพอ ถึงอย่างไรก็ตาม หากต้องการที่จะช่วยคนทั้งหมด จะต้องบรรทุกผู้โดยสารลงเรือช่วยชีวิต 200 คนต่อ 1 ลำ จึงจะสามารถช่วยคนทั้งหมดได้

ผู้รอดชีวิตทั้งหมดพูดตรงกันถึงเรื่องวงดนตรีบนเรือไททานิค ว่านักดนตรีเหล่านี้เป็นผู้ที่น่ายกย่อง ตามที่รายงานวงดนตรีวงนี้มี สมาชิกวง7คน และหัวหน้าวงอีก1คน ที่ชื่อว่า ฮาร์ทลี่ และวงนี้ก็ได้เล่นเพลงในขณะที่เรือไททานิคกำลังจมลง แต่ทว่าความไพเราะของเพลงก็ไม่ได้ลดลงไปแต่อย่างใด

ตามรายงาน เพลงที่วงดนตรีวงนี้เล่นเป็นวาระสุดท้ายของไททานิคมีรายชื่อดังนี้ 1.เพลง Autumn 2. เพลง Nearer my God to Thee เป็นเพลงสุดท้าย และเป็นเรื่องโชคร้ายอย่างมากเพราะว่านักดนตรี8คนนี้ได้จมหายไปพร้อมกับเรือ ไททานิค

เรือช่วยชีวิตทุกลำได้ถูกปล่อยออกไปหมดแล้วในเวลา 02.05น. แต่ทว่าในเวลานั้นยังมีผู้โดยสารติดค้างบนเรือกว่า 1,500คน ผู้โดยสารถได้พยายามว่ายน้ำหนี ออกจากตัวเรือ และในตอนนี้ไม่มีใครได้เห็นรองกัปตันเมอร์ด๊อกอีกเลย ส่วนรองกัปตัน ไลท์โทรเลอร์ มีคนพบเห็นเค้าได้ว่ายน้ำออกจากตัวเรือไททานิค หลังจากที่เขาได้ดูแลการปล่อยเรือช่วยชีวิตไปหมดแล้ว เขาได้ว่ายน้ำไปจนพบเรือช่วยชีวิตและ เขาเป็นคนนำเรือช่วยชีวิตลำอื่นๆกลับมาหาผู้รอดชีวิต มีผู้คนชมเขาว่า เขาได้ทำหน้าที่ของเขาได้ยอดเยี่ยมในฐานะของเจ้าหน้าที่ของเรือไททานิค

กัปตันสมิธได้สั่งให้เรือทุกลำติดดวงไฟไว้ที่หัวเรือ เพราะแสงไฟนี้สามารถมองเห็นได้ไกลถึง4ไมล์ และเขาก็ยังคงสั่งให้เรือช่วยชีวิตช่วยคนอื่นๆไปก่อน โดยที่ยังไม่ต้องช่วยตนเอง

ในเวลา 02.15น. หลังจากที่เรือช่วงชีวิตลำสุดท้ายถูกปล่อยออกไป ไททานิคก็ลอยอยู่ในน้ำเพื่อรอเวลาที่มันจะจมลงในไม่ช้า แต่ว่าในช่วงเสี้ยววินาทีนั้นเอง ส่วนท้ายของเรือไททานิคได้สูงขึ้น และหักออกจากส่วนหน้าของเรือ และในเวลา 02.20น. ทุกส่วนของไททานิคก็จมลงสู่ก้นมหาสมุทร



ความหนาวเย็นของน้ำในมหาสมุทรมันเลวร้ายมาก จนทำให้ผู้ที่ลอยคออยู่ในน้ำตายอย่างรวดเร็ว แต่ก็ยังมีหลายคนที่รอดชีวิตและพยายามตะโกนให้เรือช่วยชีวิตกลับมาช่วย และมีเรือช่วยชีวิต7ลำได้วนกลับมาช่วยผู้ที่รอดชีวิตที่ลอยคออยู่ในน้ำ แต่ก็ยังมีเหตุการณ์ที่เลวร้ายกว่านั้นคือการที่เจ้าหน้าที่ของเรือถูกผู้ โดยสารคนอื่นบังคับให้ทิ้งผู้รอดชีวิต

เรือช่วยชีวิตลำแรก เรือคาพาเธีย มาถึงในเวลา 04.00น. เป็นเวลา 1ชั่วโมงกับอีก40นาที หลังจากที่ไททานิคจมลง แต่กว่าที่ผู้โดยสารจะสามารถขึ้นเรือได้นั้นก็เกือบจะเช้าเพราะว่า ความมืดทำให้ยากแก่การมองเห็น กัปตันโรสตรอน ไม่รอช้ารีบนำเรือคาพาเธียเข้าค้นหาผู้รอดชีวิตในตอนเช้า แต่ทว่า สายไปแล้ว ในเวลานี้ มีแต่ศพผู้โดยสารลอยเกลื่อนไปทั่วมหาสมุทร

เรือลำอื่นๆได้มาค้นหาผู้รอดชีวิตอีก เรือนั้นก็คือเรือ โอลิมปิก ที่ได้แล่นตรงมาจากเซาท์แธมตั้น และ ผลของการค้นหา ก็พบแต่ซากศพผู้โดยสารลอยไปทั่ว ไม่พบผู้รอดชีวิต

เรือคาพาเธียเดินทางถึงนิวยอร์คในคืนที่พายุเข้า วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน 1912 ในเวลา21.30น. พร้อมด้วยผู้รอดชีวิต711คน

ในที่สุดผลของการสำรวจรายการต่างๆของไททานิค บนเรือไททานิคมีผู้โดยสาร 2,235คน ตายและสูญหาย 1,522 คน





..ที่มา:> http://board.postjung.com/605492.html



ส่วนนี้จะเป็น สารคดีเกี่ยวกับ TITANIC นะครับ